จุลสารไทยคดี (พ.ศ. 2523 - 2524)
เนื้อหาเป็นการจัดทำบทความรายงานข่าวความเคลื่อนไหวทางวิชาการ ข่าวของสถาบัน บทความวิเคราะห์ วิจารณ์ โดยมีวัตถุประสงค์ของการจัดทำคือ
1. เพื่อเสริมสร้างความรู้ ความเข้าใจอันดีของบุคคล หรือหน่วยงานต่างๆที่มีต่อกิจกรรม และการดำเนินงานของสถาบันฯ
2. เพื่อช่วยประสานงานทั้งระหว่างหน่วยงานในสถาบันฯเอง และระหว่างหน่วยงานอื่นๆกับสถาบันฯ ในด้านบริหารและวิชาการ
3. เพื่อเผยแพร่ความรู้ด้านวิชาการ และเรื่องราวเกี่ยวกับการวิจัยแก่บุคคลทั่วไป
จุลสารไทยคดี (แสดงเฉพาะหน้าปกเท่านั้น)
ปีที่ 1 ฉบับที่ 1 (มกราคม – มีนาคม 2523)
ปีที่ 1 ฉบับที่ 2 (เมษายน – มิถุนายน 2523)
ปีที่ 1 ฉบับที่ 3 (กรกฎาคม – กันยายน 2523)
ปีที่ 2 ฉบับที่ 1 (มีนาคม 2524)
จดหมายข่าวไทยคดีศึกษา (พ.ศ. 2525 – 2526)
เป็นเอกสารโรเนียวเย็บเล่ม มีความหนาไม่มากนัก ส่วนเล่มที่ 5 มีการพัฒนาเป็นรูปเล่มให้หนาขึ้น อีกทั้งยังเริ่มนำรูปภาพมาประกอบในเนื้อหา เนื้อหาเป็นการแนะนำศูนย์สนเทศไทยคดีศึกษา รายงานกิจกรรมของสถาบัน ข่าวของสถาบัน แนะนำหนังสือ รายงานสัมมนา บทความ โดยมีวัตถุประสงค์ของการจัดทำ คือ
1. เพื่อเผยแพร่กิจกรรมของสถาบันไทยคดีศึกษา และศูนย์สนเทศไทยคดีศึกษา
2. เพื่อให้จดหมายข่าวนี้มีคุณค่าเป็นแหล่งข้อมูลหนึ่งที่ช่วยในการศึกษาค้นคว้าของผู้ที่สนใจทางด้านไทยศึกษา
ทั้งนี้ การจัดทำจุลสารของสถาบันฯ ทั้งสองรูปแบบ ยึดหลักสำคัญ 2 ประการ คือ
1. เป็นการหลีกเลี่ยงรูปแบบที่ซ้ำซ้อนกับวารสารวิชาการ โดยบทความที่ตีพิมพ์ในจุลสารไทยคดีศึกษาเป็นเพียงข้อคิด ข้อเขียนเชิงนำร่องทางความคิด และ/หรือบทความแปลที่มีการเปิดประเด็นการศึกษาใหม่ๆขึ้น
2. เป็นการนำเสนอสาระสำคัญในรูปของข้อสนเทศด้านไทยคดีศึกษา อันเป็นรูปแบบของการบริการทางวิชาการอันหนึ่ง
จดหมายข่าวไทยคดีศึกษา (แสดงเฉพาะหน้าปกเท่านั้น)
ปีที่ 1 ฉบับที่ 1 (ตุลาคม 2525)
ปีที่ 1 ฉบับที่ 2 (กุมภาพันธ์ 2526)
ปีที่ 1 ฉบับที่ 3 (มิถุนายน 2526)
ปีที่ 1 ฉบับที่ 4 (สิงหาคม 2526)
ปีที่ 1 ฉบับที่ 5 – 6 (ธันวาคม 2526)
จุลสารไทยคดีศึกษา (พ.ศ. 2527 – 2546)
ในปีงบประมาณ 2527 สถาบันไทยคดีศึกษา ได้ยกระดับสิ่งพิมพ์ประจำสถาบันฯ จากจดหมายข่าวไทยคดีศึกษาให้เป็น "จุลสารไทยคดีศึกษา" โดยเพิ่มเนื้อหาสาระทางด้านวิชาการให้มากยิ่งขึ้น เพื่อให้จุลสารมีคุณภาพดีขึ้น ทันสมัยมากขึ้น ขนาดรูปเล่มในการจัดทำจะขึ้นอยู่กับผู้บริหาร คณะกรรมการ และงบประมาณในการจัดทำ เนื้อหาของจุลสารมีความเกี่ยวโยงกับเหตุการณ์ปัจจุบันมากขึ้น โดยตั้งแต่ปี พ.ศ. 2535 จึงมีกำหนดเผยแพร่เป็นประจำทุกราย 3 เดือนจนถึงเล่มสุดท้าย คือปีที่ 19 ฉบับที่ 3-4 (กุมภาพันธ์ – กรกฎาคม 2546) เนื่องด้วยผู้อำนวยการสถาบันในขณะนั้นเห็นสมควรให้มีการปรับเปลี่ยนรูปแบบสิ่งพิมพ์เพื่อให้มีความเป็นวิชาการมากขึ้น จึงสนับสนุนให้มีการจัดพิมพ์วารสารไทยคดีศึกษาแทนจุลสารไทยคดีศึกษาสืบต่อมา
วัตถุประสงค์
เพื่อเผยแพร่ข่าว กิจกรรม ความเคลื่อนไหวของสถาบันไทยคดีศึกษา ประสานงานและแลกเปลี่ยนข้อสนเทศเพื่อการวิจัยไทยคดีศึกษา กระตุ้นข้าราชการ อาจารย์ในมหาวิทยาลัยให้สนใจการทำวิจัยในเชิงไทยคดีศึกษา เผยแพร่ความรู้และแนวความคิดใหม่ๆเกี่ยวกับการวิจัย บทความ แนะนำหนังสือ และความเคลื่อนไหวทางวิชาการ แนะนำเผยแพร่เอกสารวิชาการและผลงานวิจัยต่างๆที่สถาบันไทยคดีศึกษาจัดพิมพ์จำหน่าย
จุลสารไทยคดีศึกษา (แสดงเฉพาะหน้าปกเท่านั้น)
หน้าปกแบบที่หนึ่ง
ปีที่ 2 ฉบับที่ 1 (พฤษภาคม 2527)
ปีที่ 2 ฉบับที่ 2 (มิถุนายน 2527)
ปีที่ 2 ฉบับที่ 3 - 4 (ตุลาคม 2527)
ปีที่ 3 ฉบับที่ 1 (มีนาคม 2528)
ปีที่ 3 ฉบับที่ 2 - 3 (สิงหาคม 2528)
ปีที่ 3 ฉบับที่ 4 (กันยายน 2528)
ปีที่ 4 ฉบับที่ 1 (กรกฎาคม 2529)
ปีที่ 4 ฉบับที่ 2 (ธันวาคม 2529)
ปีที่ 5 ฉบับที่ 1 (มิถุนายน 2530)
ปีที่ 5 ฉบับที่ 2 (กุมภาพันธ์ 2531)
ปีที่ 6 ฉบับที่ 1 (พฤศจิกายน 2532)
ปีที่ 6 ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม 2533)
หน้าปกแบบที่สอง
ปีที่ 7 ฉบับที่ 1 (สิงหาคม 2533)
ปีที่ 7 ฉบับที่ 2 (ตุลาคม 2533)
ปีที่ 7 ฉบับที่ 3 (ธันวาคม 2533)
ปีที่ 7 ฉบับที่ 4 (กุมภาพันธ์ 2534)
ปีที่ 7 ฉบับที่ 5 (เมษายน 2534)
ปีที่ 7 ฉบับที่ 6 (มิถุนายน 2534)
ปีที่ 8 ฉบับที่ 1 (สิงหาคม 2534)
ปีที่ 8 ฉบับที่ 2 (ตุลาคม 2534)
ฉบับพิเศษ (ธันวาคม 2534)
ปีที่ 8 ฉบับที่ 4 - 5 (กุมภาพันธ์ – เมษายน 2535)
ปีที่ 9 ฉบับที่ 1 (มิถุนายน – กันยายน 2535)
ปีที่ 9 ฉบับที่ 2 (ตุลาคม 2535 – มกราคม 2536)
ปีที่ 10 ฉบับที่ 1 (สิงหาคม – ตุลาคม 2536)
ปีที่ 10 ฉบับที่ 2 (พฤศจิกายน 2536 – มกราคม 2537)
ปีที่ 10 ฉบับที่ 3 (กุมภาพันธ์ – เมษายน 2537)
ปีที่ 10 ฉบับที่ 4 (พฤษภาคม – กรกฎาคม 2537)
ปีที่ 11 ฉบับที่ 1 (สิงหาคม – ตุลาคม 2537)
ปีที่ 11 ฉบับที่ 2 (พฤศจิกายน 2537 – มกราคม 2538)
ปีที่ 11 ฉบับที่ 3 (กุมภาพันธ์ – เมษายน 2538)
ฉบับพิเศษ (อาลัย ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช)
ปีที่ 12 ฉบับที่ 1 (สิงหาคม – ตุลาคม 2538)
ปีที่ 12 ฉบับที่ 2 (พฤศจิกายน 2538 – มกราคม 2539)
ปีที่ 12 ฉบับที่ 3 (กุมภาพันธ์ – เมษายน 2539)
หน้าปกแบบที่สาม
ปีที่ 12 ฉบับที่ 4 (พฤษภาคม – กรกฎาคม 2539)
ปีที่ 13 ฉบับที่ 1 (สิงหาคม – ตุลาคม 2539)
ปีที่ 13 ฉบับที่ 2 (พฤศจิกายน 2539 – มกราคม 2540)
ปีที่ 13 ฉบับที่ 3 (กุมภาพันธ์ – เมษายน 2540)
ปีที่ 13 ฉบับที่ 4 (พฤษภาคม – กรกฎาคม 2540)
ปีที่ 14 ฉบับที่ 1 (สิงหาคม – ตุลาคม 2540)
ปีที่ 14 ฉบับที่ 2 (พฤศจิกายน 2540 – มกราคม 2541)
ปีที่ 14 ฉบับที่ 3 (กุมภาพันธ์ – เมษายน 2541)
ปีที่ 14 ฉบับที่ 4 (พฤษภาคม – กรกฎาคม 2541)
ปีที่ 15 ฉบับที่ 1 (สิงหาคม – ตุลาคม 2541)
ปีที่ 15 ฉบับที่ 2 (พฤศจิกายน 2541 – มกราคม 2542)
ปีที่ 15 ฉบับที่ 3 (กุมภาพันธ์ – เมษายน 2542)
ปีที่ 15 ฉบับที่ 4 (พฤษภาคม – กรกฎาคม 2542)
ปีที่ 16 ฉบับที่ 1 (สิงหาคม – ตุลาคม 2542)
ปีที่ 16 ฉบับที่ 2 (พฤศจิกายน 2542 – มกราคม 2543)
ปีที่ 16 ฉบับที่ 3 (กุมภาพันธ์ – เมษายน 2543)
ปีที่ 16 ฉบับที่ 4 (พฤษภาคม – กรกฎาคม 2543)
ปีที่ 17 ฉบับที่ 2 (พฤศจิกายน 2543 – มกราคม 2544)
ปีที่ 17 ฉบับที่ 3 (กุมภาพันธ์ – เมษายน 2544)
ปีที่ 17 ฉบับที่ 4 (พฤษภาคม – กรกฎาคม 2544)
ปีที่ 18 ฉบับที่ 1 (สิงหาคม – ตุลาคม 2544)
ปีที่ 18 ฉบับที่ 2 (พฤศจิกายน 2544 – มกราคม 2545)
ปีที่ 18 ฉบับที่ 3 (กุมภาพันธ์ – เมษายน 2545)
ปีที่ 18 ฉบับที่ 4 (พฤษภาคม – กรกฎาคม 2545)
ปีที่ 19 ฉบับที่ 1 (สิงหาคม – ตุลาคม 2545)
ปีที่ 19 ฉบับที่ 2 (พฤศจิกายน 2545 – มกราคม 2546)
ปีที่ 19 ฉบับที่ 3 – 4 (กุมภาพันธ์ – กรกฎาคม 2546)
วารสารไทยคดีศึกษา (ตั้งแต่ พ.ศ. 2546)
เป็นวารสารวิชาการ ราย 6 เดือน ของสถาบันไทยคดีศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมการศึกษาค้นคว้า และเพื่อเผยแพร่บทความวิจัยและบทความวิชาการเกี่ยวกับไทยศึกษา ในมิติทางด้านสังคมศาสตร์ ประวัติศาสตร์ ศาสนา ศิลปะ และวัฒนธรรม ตลอดจนเรื่องที่เกี่ยวกับภูมิปัญญาท้องถิ่น และประเด็นร่วมสมัยที่น่าสนใจ เริ่มเผยแพร่ครั้งแรกในเดือนตุลาคม พ.ศ 2546 และฉบับที่สองในเดือนเมษายนของปีถัดไป ตามปีงบประมาณแผ่นดิน จนกระทั่ง พ.ศ. 2559 ได้เปลี่ยนมาตีพิมพ์ตามปีปฏิทิน คือ มกราคม - มิถุนายน กับ กรกฎาคม – ธันวาคม โดยเริ่มตั้งแต่ปีที่ 13 ฉบับที่ 1 (เล่มที่ 25) เป็นต้นไป เพื่อให้สอดคล้องกับหลักเกณฑ์ของการดำเนินการตามคำแนะนำของศูนย์ดัชนีอ้างอิงวารสารไทย (TCI) บทความหรือข้อคิดเห็นต่าง ๆ ที่ปรากฏในวารสารนี้ จะต้องผ่านการกลั่นกรองคุณภาพจากผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาที่เกี่ยวข้อง และได้รับความเห็นชอบจากกองบรรณาธิการ รายละเอียดและเนื้อหาที่ปรากฏ ถือเป็นความคิดเห็นส่วนตัวและความรับผิดชอบเฉพาะของผู้เขียน โดยไม่จำเป็นต้องตรงกับความคิดเห็นหรือเป็นความรับผิดชอบของคณะบรรณาธิการผู้จัดทำ
ปัจจุบันเนื้อหาของวารสารไทยคดีศึกษา แบ่งออกเป็น
1. บทบรรณาธิการ
2. บทความวิจัย - วิชาการ
3. แนะนำหนังสือ
4. วิจารณ์หนังสือ
5. กิจกรรมทางวิชาการ – ศิลปะและวัฒนธรรม