บทความวิชาการโครงการประชุมวิชาการระดับชาติ เนื่องในโอกาสครบรอบ 50 ปี
การสถาปนาสถาบันไทยคดีศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
มองโลกในไทย มองไทยในโลก เล่ม 1
บทความวิชาการโครงการประชุมวิชาการระดับชาติ เนื่องในโอกาสครบรอบ 50 ปี
การสถาปนาสถาบันไทยคดีศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
มองโลกในไทย มองไทยในโลก เล่ม 2
วัดพระธาตุเสด็จ เป็นอีกวัดหนึ่งที่สำคัญของจังหวัดลำปาง เป็นที่ประดิษฐานพระธาตุศักดิ์สิทธิ์ ณ ทิศเบื้องเหนือของเมืองลำปาง ใน พ.ศ. 2552 มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โดยสถาบันไทยคดีศึกษา และศูนย์ลำปาง ได้เริ่มเข้าสำรวจพร้อมกับทำงานผ่านการวิจัยอย่างมีส่วนร่วมกับวัดและชุมชน จนเกิดเป็น “โครงการจัดตั้งพิพิธภัณฑ์วัดพระธาตุเสด็จพิพิธภัณฑ์ของชาวลำปางและมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์” โดยนำเนื้อหาจากงานวิจัยของนักวิจัยสถาบันไทยคดีศึกษามาบูรณาการให้เกิดเป็นนิทรรศการถาวรของพิพิธภัณฑ์
เป็นเวลากว่าหนึ่งทศวรรษ ที่พิพิธภัณฑ์ดังกล่าวได้เปิดดำเนินการมาอย่างต่อเนื่อง และใน พ.ศ. 2564 นี้เอง สถาบันไทยคดีศึกษาจึงได้จัดทำโครงการ “ความร่วมมือทางวิชาการเพื่อปรับปรุงการจัดแสดงพิพิธภัณฑ์วัดพระธาตุเสด็จ” เพื่อปรับปรุงเนื้อหานิทรรศการในพิพิธภัณฑ์วัดและปรับให้เป็นในรูปแบบออนไลน์ เพื่อให้องค์ความรู้นี้สามารถเผยแพร่สู่สังคมในวงกว้าง และเพื่อเป็นการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรมตามพันธกิจของสถาบันฯ
“จิตรกรรมฝาผนัง” เป็นงานศิลปกรรมที่มีคุณค่าและประโยชน์อย่างมาก นอกจากจะแสดงเรื่องหรือภาพที่มีอยู่จริง หรือเรื่องที่เกิดขึ้นในประวัติศาสตร์ หรือที่มีในนิยายนิทานแล้ว ภาพเขียนเหล่านี้ยังเป็นตำนานอันซื่อสัตย์ที่บันทึกเรื่องราวอันเป็นจริงจากจารีตประเพณีและระเบียบแบบแผนที่มีอยู่ในอดีต อันเป็นหลักฐานที่ทรงคุณค่าในการศึกษาค้นคว้าทางด้านประวัติศาสตร์
วันที่ 24 พฤษภาคม 2566 เวลา 10.00 - 12.00 น. ณ อุทยานการเรียนรู้ป๋วย 100 ปี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต ข้าราชการและเจ้าหน้าที่จากสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) จำนวน 10 คน เข้าศึกษาดูงานหอจดหมายเหตุแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ หน่วยงานในความดูแลของสถาบันไทยคดีศึกษา โดยมีผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เสาวธาร โพธิ์กลัด ผู้อำนวยการสถาบันไทยคดีศึกษา นางจันทนี พึ่งเถื่อน รักษาการในตำแหน่งเลขานุการสถาบันฯ นางสาวโศรยา สุรัญญาพฤติ รักษาการในตำแหน่งหัวหน้างานบริการวิชาการ ร่วมให้การต้อนรับ จากนั้นผู้อำนวยการสถาบันฯ บรรยายภาพรวมของหอจดหมายเหตุมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ตามด้วยนางสาวดาวเรือง แนวทอง นักเอกสารสารสนเทศปฏิบัติการ และนางสาวฐานิตา บุญนำ เจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไปปฏิบัติการ ร่วมกันบรรยายภารกิจหลัก กระบวนการทำงาน พร้อมนำคณะเยี่ยมชมห้องคลังเอกสารต่าง ๆ เกี่ยวกับมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ทั้งสิ่งพิมพ์และไฟล์ดิจิทัลที่ทางหอจดหมายเหตุฯ ดูแลรักษาเพื่อประโยชน์ต่ออนุชนรุ่นหลัง
โดยนักวิจัยที่ศึกษาและเชี่ยวชาญด้านประวัติศาสตร์ศิลปะ วัฒนธรรม สังคมศาสตร์ การท่องเที่ยว ฯลฯ ตามความสนใจและเชี่ยวชาญเฉพาะบุคคล โดยผลิตงานวิจัยที่สอดคล้องกับนโยบายและทิศทางการพัฒนาระดับมหาวิทยาลัยและระดับชาติ ซึ่งส่งผลต่อความก้าวหน้าทางวิชาการ สามารถนำเสนอแนวทางแก้ปัญหาต่อสังคมทั้งในระยะสั้นและระยะยาว นอกจากนี้ยังส่งเสริมการวิจัยที่มีการเชื่อมโยงกันในลักษณะแผนงานวิจัยและบูรณาการเพื่อให้สอดคล้องกับแนวทางการวิจัยของชาติ และบูรณาการงานวิจัยเข้ากับงานบริการวิชาการและทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม
มีที่มาจากนักวิจัยนำสิ่งที่ปรากฏอยู่ในสังคมมาศึกษาวิจัย และนำสิ่งที่ได้จากการวิจัยนั้นมาเผยแพร่เป็นองค์ความรู้เพื่อให้บริการวิชาการสู่สังคมและชุมชน กิจกรรมให้บริการวิชาการแก่สังคมที่ดำเนินการมีหลายรูปแบบ อาทิ จัดสัมนนาทางวิชาการ โครงการฝึกอบรม การเสวนาทางวิชาการ การประชุมวิชาการ การทัศนศึกษา "ไทยคดีสัญจร" และการจัดพิมพ์เอกสารทางวิชาการ เป็นต้น
เพื่อตอบสนองต่อนโยบายการส่งเสริมบทบาทของสถาบันในงานด้านศิลปะและวัฒนธรรมของมหาวิทยาลัยและในระดับอุดมศึกษา โดยการบูรณาการเข้ากับพันธกิจด้านการวิจัย และการบริการวิชาการแก่สังคม มีรูปแบบกิจกรรมอย่างหลากหลาย อาทิ กิจกรรมที่ฟื้นฟู อนุรักษ์ สืบสานประเพณีโบราณที่สำคัญ เผยแพร่ ส่งเสริมศิลปะและวัฒนธรรมเอกลักษณ์ของชาติและภูมิปัญญาท้องถิ่น เพื่อพัฒนาเป็นองค์ความรู้เผยแพร่ต่อสังคมต่อไป รวมถึงการจัดโครงการทัศนศึกษาที่ให้ความรู้เรื่องศิลปวัฒนธรรมภายในประเทศไทยและประชาคมอาเซียน
เป็นวารสารทางวิชาการ ราย 6 เดือน ของสถาบันไทยคดีศึกษา มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมการศึกษาค้นคว้าในระดับอุดมศึกษา และเพื่อเผยแพร่บทความวิจัยและบทความวิชาการเกี่ยวกับไทยศึกษาในมิติทางด้านสังคมศาสตร์และมนุษย์ศาสตร์ ตลอดจนประเด็นร่วมสมัยที่น่าสนใจ บทความหรือข้อคิดเห็นต่าง ๆ ที่ปรากฏในวารสารนี้ จะต้องผ่านกระบวนการการพิจารณาจากกองบรรณาธิการและผ่านกลั่นกรองคุณภาพจากผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาที่เกี่ยวข้อง แต่รายละเอียดและเนื้อหาที่ปรากฏ ถือเป็นความคิดเห็นส่วนตัวและความรับผิดชอบเฉพาะของผู้เขียน โดยไม่จำเป็นต้องตรงกับความคิดเห็นหรือเป็นความรับผิดชอบของคณะบรรณาธิการผู้จัดทำ
สถาบันชั้นนํา
ด้านการวิจัย
และบริการวิชาการ
ด้านไทยคดีศึกษา
และศิลปวัฒนธรรม
เพื่อประชาชน
มุ่งสร้างงานวิจัยให้เป็นเลิศ
เผยแพร่ความรู้สู่สังคม
ทำนุบำรุงศิลปะและ
วัฒนธรรม
งานบริการวิชาการ สถาบันไทยคดีศึกษา จัดทำ E-Book องค์ความรู้และการสังเคราะห์ความรู้จากงานวิจัย ชุดที่ 1 เพื่อเผยแพร่ตามแผนยุทธศาสตร์
โดยมีเนื้อหา ทั้งหมด 10 เรื่องได้แก่
1.สัญลักษณ์และพุทธธรรมในบทพระราชนิพนธ์ เรื่อง พระมหาชนก
2.ความต้องการของชุมชนในการจัดการท่องเที่ยวเชิงอาสาสมัคร : กรณีศึกษาชุมชนมอญบางกระดี่
3.พระพุทธปฏิมาที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงสร้าง: คติการสร้าง และรูปแบบศิลปะ
4.การสำรวจสถานะความรู้ด้านประวัติศาสตร์ศิลปะไทยที่เกี่ยวข้องกับศิลปะพม่า – มอญ
5.พระมหากษัตริย์แห่งสังคม “เมืองน้ำ”: จาก คติจารีตถึงการควบคุมบริหารจัดการน้ำภายใต้บริบท “พระราชอำนาจนำ”
6.การศึกษาเอกสารนำเที่ยวเพื่อรวบรวมข้อมูลพื้นฐานการท่องเที่ยวของสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา
7.“มหาเตงดอจี” ภาพจิตรกรรมสะท้อนศิลปะโยเดียในแผ่นดินพม่า:ทัศนะบางประการต่อสภาพปัญหาในปัจจุบันสู่แนวทางการบริหารจัดการอย่างยั่งยืนในอนาคต
8.มหาโพธิวิหารจำลองในไทยช่วงสมัยพุทธศตวรรษที่ 26: การส่งผ่านรูปแบบทางศิลปกรรมจากอินเดียและการเคลื่อนคลายของความหมายเชิงสัญลักษณ์
9.เมื่อ “ไทย” คือห้องทำงานใหม่: ประสบการณ์และความรู้สึกจากนักวิจัยรุ่นใหม่ “สถาบันวิจัยชั้นนำด้านไทยคดีศึกษาของประเทศ ที่เชื่อมโยงภูมิภาคอาเซียนและภูมิภาคต่าง ๆ ของโลก”
10.แนวทางในการน้อมนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงสู่การปฏิบัติในภาคส่วนต่าง ๆ ของสังคมไทย: ศึกษาและวิเคราะห์จากงานวิจัยในช่วงพ.ศ. 2545-2554 และกรณีตัวอย่างแห่งความสำเร็จ
หากท่านสนใจอ่านผลงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ สามารถติดต่อได้ที่งานบริการวิชาการ สถาบันไทยคดีศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โทร. 0 2613 3203-5 ต่อ 19, 33
รวมข้อเขียนทางวิชาการโดยคณะนักวิจัยของสถาบันไทยคดีศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ภายใต้โครงการวิจัย เรื่อง "การวิจัยและพัฒนาเพื่อยกระดับพิพิธภัณฑ์วัดพระรูป จังหวัดสุพรรณบุรี ให้เป็นแหล่งเรียนรู้ตลอดชีวิต ที่เหมาะสมกับสังคมไทยในศตวรรษที่ ๒๑" โดยมุ่งนำเสนอเรื่องเล่าเกี่ยวกับคนและสิ่งของที่สัมพันธ์กับพิพิธภัณฑ์วัดพระรูป แหล่งเรียนรู้ในพื้นที่ทางวัฒนธรรมที่เชื่อมโยงกับพิพิธภัณฑ์วัดพระรูป รวมถึงการถอดบทเรียนการพัฒนาพิพิธภัณฑ์วัดพระรูปให้เป็นพิพิธภัณฑ์ต้นแบบสำหรับการเป็นแหล่งเรียนรู้ตลอดชีวิตแก่ประชาชนไปจนถึงอนุชนรุ่นหลัง
คลังข้อมูลดิจิทัล เรื่อง “โขน”
เป็นการรวบรวมข้อมูลอาทิ การแสดงนาฏศิลป์ บทประพันธ์ วรรณศิลป์ ดนตรีประกอบ คีตศิลป์ งานช่างเครื่องแต่งกายเครื่องประดับ หัวโขน งานหัตถศิลป์ ซึ่งมีทั้งประเภทลายลักษณ์อักษร และประเภทสื่อโสตทัศนวัสดุต่าง ๆ อาทิ ภาพถ่าย ฟิล์ม (เนกาทีฟและภาพยนตร์) สไลด์ โปสเตอร์ แถบบันทึกเสียง แถบบันทึกภาพ มาแปลงเป็นข้อมูลดิจิทัล ประเภทวัสดุคอมพิวเตอร์
เผยแพร่บนสื่ออินเทอร์เน็ต เพื่อรองรับผู้ใช้บริการได้ในวงกว้าง มีความสะดวก รวดเร็ว เป็นการส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้ด้วยตนเองให้แก่ประชาชน และเป็นแหล่งเรียนรู้ของสังคมในด้านการอนุรักษ์คุณค่าทางวัฒนธรรมของชาติต่อไป
หนังสือออกใหม่ของสถาบันไทยคดีศึกษา
“สืบสานจิตรกรรมไทยในพม่า” ณ อุโบสถมหาเตงดอจี และ เจติยวิหารจอกตอจี
เป็นหนังสือที่นำเสนอ “องค์ความรู้” จิตรกรรมฝาผนังฝีมือช่างชาวโยเดียผู้ถูกกวาดต้อนมาจากกรุงศรีอยุธยาภายหลังการเสียกรุงครั้งที่ 2 โดยคณะนักวิจัยด้านสถาปัตยกรรม จิตรกรรมไทย ประวัติศาสตร์ศิลปะและบริบทแวดล้อม ได้ลงพื้นที่ ณ เมืองสะกาย และเมืองมัณฑะเลย์ สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา เพื่อสำรวจ ค้นคว้า และบันทึกหลักฐานอันทรงคุณค่าทางประวัติศาสตร์ความสัมพันธ์ระหว่างผู้คนสองแผ่นดินที่กำลังเลือนหายไปตามกาลเวลา ซึ่งคนไทยจำนวนมากไม่เคยทราบและสัมผัสกับความงดงามทางศิลปะที่บรรพบุรุษได้สรรค์สร้างและฝีมือไว้ในต่างแดน
หนังสือเล่มนี้เต็มเปี่ยมด้วยข้อมูลและบทวิเคราะห์ทางวิชาการด้านประวัติศาสตร์และภาพถ่ายจิตรกรรมฝาผนังแบบไทยในต่างแดนที่แสดงให้เห็นถึงร่องรอยสายสัมพันธ์ระหว่างผู้คนทั้งสองชนชาติที่ปรากฏ ณ อุโบสถมหาเตงดอจี และเจติยวิหารจอกตอจี
จัดจำหน่ายในราคา เล่มละ 650 บาท (จัดส่งฟรีทั่วประเทศ)
โอนเงินเข้าเลขที่บัญชี 981-2-99781-4 ธนาคารกรุงไทย ชื่อบัญชี สถาบันไทยคดีศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
*สนใจติดต่อและส่งหลักฐานการโอนเงินได้ที่กล่องข้อความ เพจสถาบันไทยคดีศึกษา มธ. (TKRI TU)*
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม โทร 02-613-3205 ต่อ 31 (ธนสาร)
ก้าวเข้าสู่ปีที่ 51 ของการก่อตั้งสถาบันไทยคดีศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ พันธกิจด้านการเผยแพร่องค์ความรู้เกี่ยวกับ “ไทยศึกษา” ไปสู่ในระดับสากลผ่านบทบาทของวารสารไทยคดีศึกษาถือเป็นพันธกิจสำคัญเรื่อยมาและสามารถตอบโจทย์สาธารณะทางวิชาการ จนก่อให้เกิดคุณูปการต่อสังคมโดยรวมหลากหลายประการ เช่นเดียวกับ วารสารไทยคดีศึกษา ปีที่ 19 ฉบับที่ 1 นี้ประกอบขึ้นจากองค์ความรู้ที่โดดเด่นทางด้าน “สหวิทยาการไทยศึกษา” ที่มุ่งเติมเต็มหน้าประวัติศาสตร์ ความรู้ และความคิดในศาสตร์และศิลป์ต่าง ๆ ที่ขาดหายไปหรือมีการแปรเปลี่ยนไปอย่างเป็นพลวัต
“ความเป็นไทย” ถือเป็นวาทกรรมทางความคิดที่ถูกนำมาใช้เพื่อสะท้อนให้เห็นถึงอัตลักษณ์และการมีตัวตนทางวัฒนธรรมของชนชาติไทย ไปพร้อมกันกับถูกนำมาใช้เป็นเครื่องมือในการขยายอิทธิพลทางความคิดและวัฒนธรรมความเป็นไทยสู่การเป็นสินค้าและบริการที่สามารถสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจได้ภายใต้บริบทการเคลื่อนไหลทางวัฒนธรรมโลก (Global Culture) อย่างเป็นพลวัตจากการเข้ามามีบทบาทในพื้นที่สาธารณะของโลกาภิวัฒน์ เช่นเดียวกับเนื้อหาของวารสารไทยคดีศึกษา ปีที่ 19 ฉบับที่ 2 เล่มนี้ ถือประกอบขึ้นจากองค์ความรู้ในศาสตร์และศิลป์ต่าง ๆ ที่หลากหลายทำหน้าที่สะท้อนความเป็นไทยผ่านมุมมองทางความคิดที่มีความหลากหลายและเป็นพลวัต