Loading...

เกี่ยวกับสถาบันไทยคดีศึกษา

จุลสารหอจดหมายเหตุธรรมศาสตร์ ฉบับที่ 27

จุลสารหอจดหมายเหตุธรรมศาสตร์ ฉบับที่ 27 (มิถุนายน 2566 - พฤษภาคม 2567) "มรดกทางวัฒนธรรม" เป็นสิ่งสะท้อนการดำเนินชีวิตและอัตลักษณ์ของบรรพบุรุษที่ได้สร้างสรรค์ และสืบทอดจากคนรุ่นหนึ่งมายังคนอีกรุ่นหนึ่ง ถึงแม้จะมีความแตกต่างในช่วงเวลาและบริบททางสังคมแต่ก็มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการพัฒนาสังคมปัจจุบันในหลายมิติ ทั้งในด้านประวัติศาสตร์ การศึกษา เศรษฐกิจและสังคม จึงควรค่าแก่การอนุรักษ์และสืบสานเพื่อให้คนรุ่นหลังได้ศึกษาและเรียนรู้ต่อไป

อ่านจุลสาร
“พระเจ้าช้างเผือก” ; ภาพยนตร์การเมือง-สันติภาพ สู่ มรดกความทรงจำ และความหวังของคนรุ่นใหม่

นิทรรศการเพื่อบอกเล่าเรื่องเบื้องหลังภาพยนตร์ "พระเจ้าช้างเผือก" (The King of the White Elephant) ภาพยนตร์โดย ปรีดี พนมยงค์ เนื่องในโอกาสครบรอบ 79 ปี วันสันติภาพไทย และเนื่องในโอกาสที่คณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยแผนงานความทรงจำแห่งโลกของประเทศไทย ประกาศรับรอง “พระเจ้าช้างเผือก The King of the White Elephant” เป็นเอกสารมรดกความทรงจำแห่งโลกของประเทศไทย (National Register) เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 2566 จัดทำโดย หอจดหมายเหตุมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

อ่านรายละเอียด
รายงานประจำปี 2566

สถาบันไทยคดีศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จัดทำรายงานประจำปี 2566 เพื่อเผยแพร่การดำเนินงานของสถาบันฯ ตลอดปี พ.ศ. 2566 ที่ผ่านมา ทั้งงานวิจัย งานบริการวิชาการ การทำนุบำรุงศิลปะวัฒนธรรม ตลอดจนความร่วมมือกับหน่วยงานภายในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และหน่วยงานภายนอกทั้งภาครัฐและภาคเอกชน

อ่านรายงานประจำปี
บทความวิชาการโครงการประชุมวิชาการระดับชาติ เนื่องในโอกาสครบรอบ 50 ปี

บทความวิชาการโครงการประชุมวิชาการระดับชาติ เนื่องในโอกาสครบรอบ 50 ปี 

การสถาปนาสถาบันไทยคดีศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

มองโลกในไทย มองไทยในโลก เล่ม 1

More Detail
บทความวิชาการโครงการประชุมวิชาการระดับชาติ เนื่องในโอกาสครบรอบ 50 ปี

บทความวิชาการโครงการประชุมวิชาการระดับชาติ เนื่องในโอกาสครบรอบ 50 ปี

การสถาปนาสถาบันไทยคดีศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

มองโลกในไทย มองไทยในโลก เล่ม 2

More Detail
โครงการจัดตั้งพิพิธภัณฑ์วัดพระธาตุเสด็จพิพิธภัณฑ์ของชาวลำปางและมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

วัดพระธาตุเสด็จ เป็นอีกวัดหนึ่งที่สำคัญของจังหวัดลำปาง เป็นที่ประดิษฐานพระธาตุศักดิ์สิทธิ์ ณ ทิศเบื้องเหนือของเมืองลำปาง ใน พ.ศ. 2552 มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โดยสถาบันไทยคดีศึกษา และศูนย์ลำปาง ได้เริ่มเข้าสำรวจพร้อมกับทำงานผ่านการวิจัยอย่างมีส่วนร่วมกับวัดและชุมชน จนเกิดเป็น “โครงการจัดตั้งพิพิธภัณฑ์วัดพระธาตุเสด็จพิพิธภัณฑ์ของชาวลำปางและมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์” โดยนำเนื้อหาจากงานวิจัยของนักวิจัยสถาบันไทยคดีศึกษามาบูรณาการให้เกิดเป็นนิทรรศการถาวรของพิพิธภัณฑ์

เป็นเวลากว่าหนึ่งทศวรรษ ที่พิพิธภัณฑ์ดังกล่าวได้เปิดดำเนินการมาอย่างต่อเนื่อง และใน พ.ศ. 2564 นี้เอง สถาบันไทยคดีศึกษาจึงได้จัดทำโครงการ “ความร่วมมือทางวิชาการเพื่อปรับปรุงการจัดแสดงพิพิธภัณฑ์วัดพระธาตุเสด็จ” เพื่อปรับปรุงเนื้อหานิทรรศการในพิพิธภัณฑ์วัดและปรับให้เป็นในรูปแบบออนไลน์ เพื่อให้องค์ความรู้นี้สามารถเผยแพร่สู่สังคมในวงกว้าง และเพื่อเป็นการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรมตามพันธกิจของสถาบันฯ

อ่านเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ออนไลน์
จุลกฐิน จากต้นฝ้าย ถึง ผ้าจีวร

สิ่งพิมพ์วิชาการที่เป็นผลผลิตโดยคณะนักวิจัยสถาบันไทยคดีศึกษา ได้แก่ ดร.เทียมจิตร์ พ่วงสมจิตร์ ดร.สิโรตม์ ภินันท์รัชต์ธร และ ดร.อาสา คำภา ภายใต้โครงการบริการความรู้มุมไทยศึกษา ณ เรือนไทย ตอน สืบสานประเพณีงานบุญจุลกฐิน จากความร่วมมือทางวิชาการระหว่าง สถาบันไทยคดีศึกษา กับ คณะศิลปกรรมศาสตร์ ในโอกาสฉลองครบรอบการสถาปนา 90 ปี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และการจัดงานสืบสานประเพณีงานบุญจุลกฐิน "จุลกฐิน" จากเมล็ดฝ้าย สู้ผ้าไตรจีวร ณ วัดศาลาแดงเหนือ อำเภอสามโคก จังหวัดปทุมธานี เมื่อวันที่ 17-18 พฤศจิกายน 2566 ที่ผ่านมา

อ่านต่อ
ฐานข้อมูลจิตรกรรมฝาผนังภาพเกี่ยวกับอาหารและการกินอยู่ทุนทางวัฒนธรรม เพื่อส่งเสริมการพัฒนาผลิตภัณฑ์และนวัตกรรมเกี่ยวกับอาหารไทยในยุค THAILAND 4.0

“จิตรกรรมฝาผนัง” เป็นงานศิลปกรรมที่มีคุณค่าและประโยชน์อย่างมาก นอกจากจะแสดงเรื่องหรือภาพที่มีอยู่จริง หรือเรื่องที่เกิดขึ้นในประวัติศาสตร์ หรือที่มีในนิยายนิทานแล้ว ภาพเขียนเหล่านี้ยังเป็นตำนานอันซื่อสัตย์ที่บันทึกเรื่องราวอันเป็นจริงจากจารีตประเพณีและระเบียบแบบแผนที่มีอยู่ในอดีต อันเป็นหลักฐานที่ทรงคุณค่าในการศึกษาค้นคว้าทางด้านประวัติศาสตร์

ข้อมูลเพิ่มเติม
สิ่งพิมพ์วิชาการจากผลงานวิจัยของ รศ.สุมิตร ปิติพัฒน์

สิ่งพิมพ์วิชาการของสถาบันฯ จากการลงพื้นที่วิจัยกลุ่มชาติพันธุ์ของ รองศาสตราจารย์ สุมิตร ปิติพัฒน์ อดีตผู้อำนวยการสถาบันไทยคดีศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (พ.ศ. 2536-2542) และคณะนักวิจัย จำนวน 4 รายการ เพื่อรำลึกถึงและร่วมเชิดชูท่านในฐานะผู้ที่ศึกษาวิจัยสังคม วัฒนธรรม และวิถีชีวิตกลุ่มชาติพันธุ์ในพื้นที่ลุ่มแม่น้ำโขง ก่อให้เกิดคุณูปการต่อการศึกษาวิจัยทางด้านมานุษยวิทยาแก่นักวิชาการรุ่นหลัง

สิ่งพิมพ์ทั้ง 4 รายการ ได้แก่ 1. ขบวนการฟื้นฟูภาษาความเชื่อและพิธีกรรมของไทยอาหมในรัฐอัสสัม ประเทศอินเดีย 2. คนไตในซือเหมา มณฑลยูนนาน สาธารณรัฐประชาชนจีน ประวัติศาสตร์ การเมือง และวัฒนธรรม 3. คนไทแดงในแขวงหัวพัน สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว 4. ไย้ ไต และเกาลาน : กลุ่มชาติพันธุ์ไทในเวียดนามเหนือ 

ผู้สนใจติดต่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม หรือสั่งซื้อได้ที่ งานบริการวิชาการ โทร. 026133205 ต่อ 22 (โศรยา) หรือ 19 (ศิวพล) Facebook เพจ สถาบันไทยคดีศึกษา มธ. (TKRI TU)

ดูบทคัดย่อและสารบัญ

ภารกิจไทยคดีศึกษา

งานวิจัย

     โดยนักวิจัยที่ศึกษาและเชี่ยวชาญด้านประวัติศาสตร์ศิลปะ วัฒนธรรม สังคมศาสตร์ การท่องเที่ยว ฯลฯ ตามความสนใจและเชี่ยวชาญเฉพาะบุคคล โดยผลิตงานวิจัยที่สอดคล้องกับนโยบายและทิศทางการพัฒนาระดับมหาวิทยาลัยและระดับชาติ ซึ่งส่งผลต่อความก้าวหน้าทางวิชาการ สามารถนำเสนอแนวทางแก้ปัญหาต่อสังคมทั้งในระยะสั้นและระยะยาว นอกจากนี้ยังส่งเสริมการวิจัยที่มีการเชื่อมโยงกันในลักษณะแผนงานวิจัยและบูรณาการเพื่อให้สอดคล้องกับแนวทางการวิจัยของชาติ และบูรณาการงานวิจัยเข้ากับงานบริการวิชาการและทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม

งานบริการวิชาการ

       มีที่มาจากนักวิจัยนำสิ่งที่ปรากฏอยู่ในสังคมมาศึกษาวิจัย และนำสิ่งที่ได้จากการวิจัยนั้นมาเผยแพร่เป็นองค์ความรู้เพื่อให้บริการวิชาการสู่สังคมและชุมชน กิจกรรมให้บริการวิชาการแก่สังคมที่ดำเนินการมีหลายรูปแบบ อาทิ จัดสัมนนาทางวิชาการ โครงการฝึกอบรม การเสวนาทางวิชาการ การประชุมวิชาการ การทัศนศึกษา "ไทยคดีสัญจร" และการจัดพิมพ์เอกสารทางวิชาการ เป็นต้น

โครงการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม

       เพื่อตอบสนองต่อนโยบายการส่งเสริมบทบาทของสถาบันในงานด้านศิลปะและวัฒนธรรมของมหาวิทยาลัยและในระดับอุดมศึกษา โดยการบูรณาการเข้ากับพันธกิจด้านการวิจัย และการบริการวิชาการแก่สังคม มีรูปแบบกิจกรรมอย่างหลากหลาย อาทิ กิจกรรมที่ฟื้นฟู อนุรักษ์ สืบสานประเพณีโบราณที่สำคัญ เผยแพร่ ส่งเสริมศิลปะและวัฒนธรรมเอกลักษณ์ของชาติและภูมิปัญญาท้องถิ่น เพื่อพัฒนาเป็นองค์ความรู้เผยแพร่ต่อสังคมต่อไป รวมถึงการจัดโครงการทัศนศึกษาที่ให้ความรู้เรื่องศิลปวัฒนธรรมภายในประเทศไทยและประชาคมอาเซียน

วารสารไทยคดีศึกษา

        เป็นวารสารทางวิชาการ ราย 6 เดือน ของสถาบันไทยคดีศึกษา มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมการศึกษาค้นคว้าในระดับอุดมศึกษา และเพื่อเผยแพร่บทความวิจัยและบทความวิชาการเกี่ยวกับไทยศึกษาในมิติทางด้านสังคมศาสตร์และมนุษย์ศาสตร์ ตลอดจนประเด็นร่วมสมัยที่น่าสนใจ บทความหรือข้อคิดเห็นต่าง ๆ ที่ปรากฏในวารสารนี้ จะต้องผ่านกระบวนการการพิจารณาจากกองบรรณาธิการและผ่านกลั่นกรองคุณภาพจากผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาที่เกี่ยวข้อง แต่รายละเอียดและเนื้อหาที่ปรากฏ ถือเป็นความคิดเห็นส่วนตัวและความรับผิดชอบเฉพาะของผู้เขียน โดยไม่จำเป็นต้องตรงกับความคิดเห็นหรือเป็นความรับผิดชอบของคณะบรรณาธิการผู้จัดทำ

วิสัยทัศน์

 

สถาบันชั้นนํา

ด้านการวิจัย

และบริการวิชาการ

ด้านไทยคดีศึกษา

และศิลปวัฒนธรรม

เพื่อประชาชน

 

พันธกิจ

มุ่งสร้างงานวิจัยให้เป็นเลิศ

เผยแพร่ความรู้สู่สังคม

ทำนุบำรุงศิลปะและ

วัฒนธรรม

 

รวมผลงานของสถาบัน

องค์ความรู้และการสังเคราะห์ความรู้จากงานวิจัย

งานบริการวิชาการ สถาบันไทยคดีศึกษา จัดทำ E-Book องค์ความรู้และการสังเคราะห์ความรู้จากงานวิจัย ชุดที่ 1 เพื่อเผยแพร่ตามแผนยุทธศาสตร์
โดยมีเนื้อหา ทั้งหมด 10 เรื่องได้แก่

1.สัญลักษณ์และพุทธธรรมในบทพระราชนิพนธ์ เรื่อง พระมหาชนก
2.ความต้องการของชุมชนในการจัดการท่องเที่ยวเชิงอาสาสมัคร : กรณีศึกษาชุมชนมอญบางกระดี่
3.พระพุทธปฏิมาที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงสร้าง: คติการสร้าง และรูปแบบศิลปะ
4.การสำรวจสถานะความรู้ด้านประวัติศาสตร์ศิลปะไทยที่เกี่ยวข้องกับศิลปะพม่า – มอญ
5.พระมหากษัตริย์แห่งสังคม “เมืองน้ำ”: จาก คติจารีตถึงการควบคุมบริหารจัดการน้ำภายใต้บริบท “พระราชอำนาจนำ”
6.การศึกษาเอกสารนำเที่ยวเพื่อรวบรวมข้อมูลพื้นฐานการท่องเที่ยวของสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา
7.“มหาเตงดอจี” ภาพจิตรกรรมสะท้อนศิลปะโยเดียในแผ่นดินพม่า:ทัศนะบางประการต่อสภาพปัญหาในปัจจุบันสู่แนวทางการบริหารจัดการอย่างยั่งยืนในอนาคต
8.มหาโพธิวิหารจำลองในไทยช่วงสมัยพุทธศตวรรษที่ 26: การส่งผ่านรูปแบบทางศิลปกรรมจากอินเดียและการเคลื่อนคลายของความหมายเชิงสัญลักษณ์
9.เมื่อ “ไทย” คือห้องทำงานใหม่: ประสบการณ์และความรู้สึกจากนักวิจัยรุ่นใหม่ “สถาบันวิจัยชั้นนำด้านไทยคดีศึกษาของประเทศ ที่เชื่อมโยงภูมิภาคอาเซียนและภูมิภาคต่าง ๆ ของโลก”
10.แนวทางในการน้อมนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงสู่การปฏิบัติในภาคส่วนต่าง ๆ ของสังคมไทย: ศึกษาและวิเคราะห์จากงานวิจัยในช่วงพ.ศ. 2545-2554 และกรณีตัวอย่างแห่งความสำเร็จ

หากท่านสนใจอ่านผลงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ สามารถติดต่อได้ที่งานบริการวิชาการ สถาบันไทยคดีศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โทร. 0 2613 3203-5 ต่อ 19, 33

คลิกเพื่ออ่าน
วัดพระรูป เมืองสุพรรณ: รวมข้อเขียนว่าด้วยเรื่องเล่า คน ข้าวของ จากพิพิธภัณฑ์วัดสู่แหล่งเรียนรู้

รวมข้อเขียนทางวิชาการโดยคณะนักวิจัยของสถาบันไทยคดีศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ภายใต้โครงการวิจัย เรื่อง "การวิจัยและพัฒนาเพื่อยกระดับพิพิธภัณฑ์วัดพระรูป จังหวัดสุพรรณบุรี ให้เป็นแหล่งเรียนรู้ตลอดชีวิต ที่เหมาะสมกับสังคมไทยในศตวรรษที่ ๒๑" โดยมุ่งนำเสนอเรื่องเล่าเกี่ยวกับคนและสิ่งของที่สัมพันธ์กับพิพิธภัณฑ์วัดพระรูป แหล่งเรียนรู้ในพื้นที่ทางวัฒนธรรมที่เชื่อมโยงกับพิพิธภัณฑ์วัดพระรูป รวมถึงการถอดบทเรียนการพัฒนาพิพิธภัณฑ์วัดพระรูปให้เป็นพิพิธภัณฑ์ต้นแบบสำหรับการเป็นแหล่งเรียนรู้ตลอดชีวิตแก่ประชาชนไปจนถึงอนุชนรุ่นหลัง

คลิกเพื่ออ่าน

คลังข้อมูลดิจิทัล เรื่อง “โขน”

เป็นการรวบรวมข้อมูลอาทิ การแสดงนาฏศิลป์ บทประพันธ์ วรรณศิลป์ ดนตรีประกอบ คีตศิลป์ งานช่างเครื่องแต่งกายเครื่องประดับ หัวโขน งานหัตถศิลป์ ซึ่งมีทั้งประเภทลายลักษณ์อักษร และประเภทสื่อโสตทัศนวัสดุต่าง ๆ อาทิ ภาพถ่าย ฟิล์ม (เนกาทีฟและภาพยนตร์) สไลด์ โปสเตอร์ แถบบันทึกเสียง แถบบันทึกภาพ มาแปลงเป็นข้อมูลดิจิทัล ประเภทวัสดุคอมพิวเตอร์

เผยแพร่บนสื่ออินเทอร์เน็ต เพื่อรองรับผู้ใช้บริการได้ในวงกว้าง มีความสะดวก รวดเร็ว เป็นการส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้ด้วยตนเองให้แก่ประชาชน และเป็นแหล่งเรียนรู้ของสังคมในด้านการอนุรักษ์คุณค่าทางวัฒนธรรมของชาติต่อไป

ข้อมูลเพิ่มเติม
“ทุกเอกสารมีเรื่องราว ทุกความทรงจำมีชีวิต”
หอจดหมายเหตุ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ พื้นที่เก็บรักษาความทรงจำและเรื่องราวของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จัดตั้งขึ้นในวันที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2534 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นแหล่งรวบรวมและจัดเก็บเอกสาร สิ่งพิมพ์ วัสดุและสิ่งของที่มีคุณค่าของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ รวมทั้งกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัย และเป็นแหล่งให้บริการข้อมูลเพื่อการศึกษา ค้นคว้าวิจัย เผยแพร่อดีตและความเป็นมาที่เกี่ยวข้องกับประวัติและพัฒนาการของมหาวิทยาลัย ตลอดจนสังคมภายนอกที่มีความเกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ในด้านต่าง ๆ
เข้าเว็บไซต์หอจดหมายเหตุ มธ.
หนังสือ “สืบสานจิตรกรรมไทยในพม่า”

หนังสือออกใหม่ของสถาบันไทยคดีศึกษา

“สืบสานจิตรกรรมไทยในพม่า” ณ อุโบสถมหาเตงดอจี และ เจติยวิหารจอกตอจี

เป็นหนังสือที่นำเสนอ “องค์ความรู้” จิตรกรรมฝาผนังฝีมือช่างชาวโยเดียผู้ถูกกวาดต้อนมาจากกรุงศรีอยุธยาภายหลังการเสียกรุงครั้งที่ 2 โดยคณะนักวิจัยด้านสถาปัตยกรรม จิตรกรรมไทย ประวัติศาสตร์ศิลปะและบริบทแวดล้อม ได้ลงพื้นที่ ณ เมืองสะกาย และเมืองมัณฑะเลย์ สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา เพื่อสำรวจ ค้นคว้า และบันทึกหลักฐานอันทรงคุณค่าทางประวัติศาสตร์ความสัมพันธ์ระหว่างผู้คนสองแผ่นดินที่กำลังเลือนหายไปตามกาลเวลา ซึ่งคนไทยจำนวนมากไม่เคยทราบและสัมผัสกับความงดงามทางศิลปะที่บรรพบุรุษได้สรรค์สร้างและฝีมือไว้ในต่างแดน

หนังสือเล่มนี้เต็มเปี่ยมด้วยข้อมูลและบทวิเคราะห์ทางวิชาการด้านประวัติศาสตร์และภาพถ่ายจิตรกรรมฝาผนังแบบไทยในต่างแดนที่แสดงให้เห็นถึงร่องรอยสายสัมพันธ์ระหว่างผู้คนทั้งสองชนชาติที่ปรากฏ ณ อุโบสถมหาเตงดอจี และเจติยวิหารจอกตอจี

จัดจำหน่ายในราคา เล่มละ 650 บาท (จัดส่งฟรีทั่วประเทศ)

โอนเงินเข้าเลขที่บัญชี 981-2-99781-4 ธนาคารกรุงไทย ชื่อบัญชี สถาบันไทยคดีศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

*สนใจติดต่อและส่งหลักฐานการโอนเงินได้ที่กล่องข้อความ เพจสถาบันไทยคดีศึกษา มธ. (TKRI TU)*

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม โทร 02-613-3205 ต่อ  31 (ธนสาร)

ติดต่อเพจสถาบันไทยคดีศึกษา มธ.
วารสารไทยคดีศึกษา ปีที่ 20 ฉบับที่ 1

"วัฒนธรรม” ถือเป็นสัญลักษณ์เชิงประจักษ์ที่แสดงให้เห็นถึง “ความเจริญงอกงาม” ของ “สังคม” ใดสังคมหนึ่ง สิ่งที่เรียกว่าวัฒนธรรมเกิดขึ้นจากกระบวนการเรียนรู้และการมีปฏิสัมพันธ์ร่วมกันของผู้คนในสังคม โดยวัฒนธรรมสามารถปรากฏผ่านได้ทั้งสิ่งที่เป็นนามธรรมและรูปธรรมในรูปแบบต่าง ๆ ที่มีความหลากหลายและแตกต่างกันออกไปในแต่ละสังคมภายใต้การกำหนดและให้ “คุณค่า (Value)” ต่อวัฒนธรรมในแต่ละสังคมที่ดำเนินไปอย่างเป็นพลวัต ฉะนั้น การดำรงอยู่ของวัฒนธรรมจึงเปรียบเสมือนเป็นการดำรงอยู่ของความเจริญงอกงามทางสังคมนั้น ๆ

อ่านต่อ
วารสารไทยคดีศึกษา ปีที่ 20 ฉบับที่ 2

ศิลปะและวัฒนธรรมต่างเป็นสิ่งซึ่งมีความสอดประสานกันอย่างใกล้ชิด กล่าวคือเป็นสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้นจากคติ ความเชื่อ ความรู้ความจริงในชีวิต สร้างสรรค์จนเกิดเป็นสิ่งซึ่งเต็มเปี่ยมไปด้วยคุณค่าทางศาสนา ประวัติศาสตร์ การเมืองการปกครอง ตลอดจนคุณค่าทางสุนทรียะ 

อ่านต่อ